เมนู

4. โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ.
"บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็น
คนโง่, บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง;
ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็น
บัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า 'คนโง่.'

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย พาโล ความว่า บุคคลใด
เป็นคนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญ คือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่
คือความเป็นคนเขลานั้น ด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา."
สองบทว่า เตน โส ความว่า ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นจะเป็น
บัณฑิตได้บ้าง หรือจะเป็นเช่นกับบัณฑิตได้บ้าง.
ก็เขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิตนั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์
แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว ย่อมเป็นบัณฑิต หรือ
เป็นบัณฑิตกว่าได้.
สองบทว่า ส เว พาโล ความว่า ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่อยู่
เป็นผู้มีความสำคัญว่าคนเป็นบัณฑิตถ่ายเดียวอย่างนั้นว่า " คนอื่นใครเล่า ?
จะเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทรงวินัย มีวาทะกล่าวคุณเครื่องขจัดกิเลส
เช่นกับด้วยเรามีอยู่" บุคคลนั้นไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เรียนปริยัติเลย, ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติ, ย่อม

ถึงความเป็นคนโง่โดยส่วนเดียวแท้. บุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนโจรทำลาย
ปมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า " ส เว
พาโลติ วุจฺจติ."

ในกาลจบเทศนา มหาชนพร้อมด้วยญาติทั้งหลายของโจรผู้โสดาบัน
นอกนี้ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องโจรผู้ทำลายปม จบ.

5. เรื่องพระอุทายีเถระ [49]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุทายี-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล" เป็นต้น.

คนไม่รู้มักถือตัว


ได้ยินว่า พระอุทายีเถระนั้น เมื่อพระเถระผู้ใหญ่หลีกไปแล้ว ไปสู่
โรงธรรมแล้ว นั่งบนธรรมาสน์. ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะเห็น
พระอุทายีเถระนั้นแล้วเข้าใจว่า " ภิกษุนี้จักเป็นพระมหาเถระผู้พหูสูต"
จึงถามปัญหาปฏิสังยุตด้วยขันธ์เป็นต้นแล้ว ติเตียนท่านผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งพระ-
พุทธวจนะอะไร ๆ ว่า "นี่พระเถระอะไร ? อยู่ในพระวิหารเดียวกัน
กับพระพุทธเจ้า ยังไม่รู้ธรรมแม้สักว่าขันธ์ธาตุและอายตนะ" ดังนี้แล้ว
จึงกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระตถาคต. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพี สูปรสํ ยถา.
"ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จน
ตลอดชีวิต, เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รส
แกงฉะนั้น."